top of page
1/4
GREENER BANGKOK
เมื่อกรุงเทพฯ จะเป็นเมืองสีเขียว 15 นาที
TOP GREEN
เมื่อกรุงเทพฯ จะเป็นเมืองสีเขียว 15 นาที
เมือง 15 นาที ไม่ใช่เพียงวาทะกรรมทางการเมือง หากแต่เป็นนโยบายที่เมืองหลายเเห่งทั่วโลก กำลังกล่าวถึง ว่าด้วย “เมืองที่ใช้เวลาในการเดินทาง 15 นาที สู่จุดหมายปลายทางในชีวิตประจำวัน”
แล้วกรุงเทพฯ จะเป็นเมืองสีเขียว 15 นาที
ได้จริงหรือ ?
1/4
หากพูดถึงพื้นที่สีเขียวในเมือง ไม่เพียงแค่เป็น “สีเขียว” ของเมืองเท่านั้น หากแต่ คือ…
-
พื้นที่ส่งเสริมสุขภาวะของประชาชน
-
พื้นที่ส่งเสริมระบบนิเวศน์เมืองและการเรียนรู้
-
พื้นที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ทางสังคมและความมั่นคงปลอดภัยทางอาหาร
-
พื้นที่ส่งเสริมเศรษฐกิจของย่าน
ปัจจุบันกรุงเทพฯเป็นเมืองที่…
เขียวน้อย:
ปัจจุบัน กรุงเทพมีพื้นที่สีเขียวต่อคนอยู่ที่
7.6 ตารางเมตรต่อคน
เขียวไกล:
ระยะทางเฉลี่ยในการเข้าถึงพื้นที่สีเขียวที่ใกล้ที่สุดคือ 60 นาที หรือประมาณ 4.5 กิโลเมตร
เมืองหนาแน่น:
พื้นที่เมืองชั้นในและเมืองชั้นกลาง
มีจำนวนประชากรที่หนาแน่น
เนื่องจากเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของผู้คนในเมือง
ด้วยสถานการณ์ด้านพื้นที่สีเขียวของเมืองเช่นนี้ คำถามสำคัญก็คือ
จะทำอย่างไรให้ สวน 15 นาทีนี้ เกิดขึ้นจริงได้ ?
-
จะเอาที่ดินมาได้อย่างไร
-
จะต้องใช้งบประมาณเท่าไหร่
-
จะเอางบประมาณมาจากไหน
-
จะทำที่ไหนก่อน-หลัง
ยิ่งไปกว่านั้น ยังเต็มไปด้วยข้อจำกัดเรื่องอำนาจและมาตรการต่าง ๆ รวมถึงมาตรการทางภาษี ซึ่งเป็นความท้าทายของการพัฒนาสวน 15 นาที ในพื้นที่เมืองที่มีราคาที่ดินสูงอย่างกรุงเทพมหานคร ลำพังเพียงมาตรการทางภาษีอย่างเดียวไม่สามรถสร้างเเรงจูงใจได้มากพอที่จะทำให้มีการพัฒนา หรือยกที่ดินของเอกชนในการพัฒนาเป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะของเมืองได้
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ UDDC ร่วมกับหน่วยงานภาคีที่หลากหลาย ทั้งทางภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชนในพื้นที่กรุงเทพร่วมกัน แฮค! กรุงเทพ เพื่อเมืองที่เขียวกว่า ผ่านกิจกรรม GREENER BANGKOK HACKATHORN 2022 เพื่อหาวิธีให้คนกรุงเทพ เข้าถึงพื้นที่สีเขียวใน 15 นาที
แฮคเพื่อ ?
การแฮคในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อสร้างทางเลือกใหม่
ลดขั้นตอนการดำเนินการแบบเดิม ๆ หรือเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน สู่โอกาสในการสำเร็จและเกิดขึ้นจริง การแฮคในครั้งนี้ จึงไม่จำกัดเพียงการออกแบบ
โดยกลุ่มสถาปนิกเท่านั้น แต่ต้องการความรู้
ความเชี่ยวชาญจากหลากหลายศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นมาตรการทางผังเมือง มาตรการทางกฎหมาย หรือมาตรการทางเศรษฐศาสตร์
UDDC เสนอบันได 6 ขั้น ในการได้มาซึ่งสวน 15 นาที ประกอบด้วย
1
การกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน
2
การหาที่ดินศักยภาพ
3
การประเมินความเหมาะสมและ
การมีกลไกสร้างความเป็นไปได้
4
การออกแบบและดำเนินการก่อสร้าง
5
การดูแลรักษาและบริหารจัดการ
6
การติดตาม ควบคุม
และประเมินผล
ซึ่งตลอดทั้ง 6 ขั้นตอนนี้
จะดำเนินการผ่านการสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วน
มาลองดูความเป็นไปได้ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้
กรุงเทพฯ เป็น เมืองเขียว 15 นาที กัน
ขั้นที่ 1
หากกรุงเทพฯ จะพัฒนาพื้นที่สีเขียวให้ได้ตามมาตรฐาน WHO ที่กำหนดไว้ที่ประมาณ 9 ตารางเมตรต่อคน
จะต้องดำเนินการปรับเปลี่ยนพื้นที่ใต้ทางด่วน และพื้นที่โล่งว่างตามผังเมืองรวมให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวสาธารณะ
ขั้นที่ 2
หากเพิ่มพื้นที่วัด ศาสนสถาน สถานที่ราชการ
พื้นที่สนามกอล์ฟในเมือง รวมถึงการอนุญาตให้ใช้พื้นที่ทหารในการเป็นพื้นที่นันทนาการสีเขียว เมืองกรุงเทพ
ก็จะมีพื้นที่สีเขียวต่อหัวประชากรเทียบเท่ากับเมืองปารีส ที่ประมาณ 13.4 ตารางเมตรต่อคน
ขั้นที่ 3
หากเพิ่มพื้นที่ริมถนนสายหลัก/สายประธาน
ตามมาตราการทางผังเมืองที่กำหนดพื้นที่ถอยร่น
ตามแนวถนนเป็นพื้นที่สีเขียว และปรับเปลี่ยนพื้นที่หลังคาอาคารขนาดใหญ่จากพื้นที่ดาดเเข็งสีน้ำตาล ให้กลายเป็นพื้นที่สีเขียวบนหลังคา ดังเช่นนโยบายของหลายเมืองที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันนี้ เมืองกรุงเทพจะมีพื้นที่สีเขียวเทียบเท่าเมืองลอนดอน ที่ 18.9 ตารางเมตรต่อคน
แต่ที่น่าเศร้าก็คือ...
เเม้ว่าเราจะพยายามถึงขนาดนี้แล้ว
พื้นที่สวนสาธารณะสีเขียวในเมืองอยู่ใน
ระยะที่เข้าถึงเฉลี่ยเพียง 30 นาทีเท่านั้น
แต่ที่น่าเศร้าก็คือ...
เเม้ว่าเราจะพยายามถึงขนาดนี้แล้ว
พื้นที่สวนสาธารณะสีเขียวในเมืองอยู่ใน
ระยะที่เข้าถึงเฉลี่ยเพียง 30 นาทีเท่านั้น
แต่จากข้อเสนอแนวทางการออกแบบและความเป็นไปได้กว่า
66
ข้อเสนอ
จาก
90
ทีม
ทำให้ได้โอกาสในการพัฒนาพื้นที่สีเขียวรูปแบบใหม่ ๆ ทั้งในพื้นที่ของรัฐ กึ่งรัฐ และที่ดินเอกชน อีกกว่า 21 ความเป็นไปได้
อาทิ ในพื้นที่ราชพัสดุ พื้นที่โรงเรียน
พื้นที่ริมทางรถไฟ พื้นที่ระบบขนส่งสาธารณะ พื้นที่สะพานลอย พื้นที่ซอยตัน หรือในพื้นที่ธนาคารสาขา พื้นที่ร้านสะดวกซื้อ
หรือสวนกระถางเคลื่อนที่
จากความเป็นไปได้ดังกล่าว ตามข้อเสนอของ GREENER BANGKOK HACKATHON 2022
ในที่ดินของรัฐ
จากการเพิ่มพื้นที่ราชพัสดุ พื้นที่โรงเรียน พื้นที่ศูนย์-สาธารณสุขชุมชน พื้นที่ริมทางรถไฟ พื้นที่สะพานลอย และพื้นที่ซอยตัน จะทำให้กรุงเทพมีพื้นที่สีเขียวสาธารณะกว่า 20.2 ตารางเมตรต่อคน
และหากเพิ่มความเป็นไปได้ในที่ดินเอกชน
อาทิ พื้นที่เอกชนรกร้าง พื้นที่ลานจอดรถ ธนาคารสาขา ร้านสะดวกซื้อ พื้นที่ระหว่างรั้ว พื้นที่ว่างตามกฎหมายอาคาร พื้นที่ระเบียง พื้นที่เขียวในอาคาร และสวนกระถางเคลื่อนที่ กรุงเทพจะมีพื้นที่สีเขียวสาธารณะ
กว่า 24.5 ตารางเมตรต่อคน
ดังนั้น หากดำเนินการตามข้อเสนอทั้ง 66 ข้อเสนอที่กล่าวข้างต้น คนกรุงเทพฯ จะมีค่าเฉลี่ยการเข้าถึงพื้นที่สวนสาธารณะที่ใกล้ที่สุดเพียงแค่ 800 - 1000 เมตร และนั่นคือระยะเวลา 15 นาที
เเต่เรื่องราวของการทำกรุงเทพฯ
ให้เป็นเมืองสีเขียว 15 นาที ยังไม่จบเพียงแค่นั้น
เพราะคำถามสำคัญกว่า คือ
เราจะทำตามข้อเสนอได้อย่างไร ?
GREEN IMPLEMENTATION
จากข้อมูลชุดนี้ทำให้เราคนกรุงเทพ ได้ทราบว่า
ปัจจุบันนี้ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กว่า 1500 ไร่นี้
มีพื้นที่เพียง 17 % เท่านั้น ที่ถือได้ว่าเป็นพื้นที่สีเขียว 15 นาที
นั่นหมายถึง สามารถเข้าถึงพื้นที่สีเขียวได้ในระยะเวลาเดินเท้า
และหมายความถึง ยังมีพื้นที่ที่รอดำเนินการอีกกว่า 83%
ทั่วกรุงเทพมหานคร
เพื่อที่จะทำให้นโยบายสวน 15 นาที ของเมืองกรุงเทพสัมฤทธิ์ผล
เพื่อเปลี่ยนเมืองกรุงเทพจากพื้นที่สีเขียว
7.6 ตารางเมตรต่อคน เป็น 24.5 ตารางเมตรต่อคน
และจากเมืองสีเขียว 60 นาที เป็นเมืองกรุงเทพ สีเขียว 15 นาที
ต้องอาศัยกำลังจากพลเมืองทุกคน
เข้ามามีส่วนร่วมและขับเคลื่อนให้เมืองของเราน่าอยู่ต่อไป
สนับสนุนโดย
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์
ดำเนินการโดย
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง (UDDC)
ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านยุทธศาสตร์เมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขอขอบคุณข้อมูลจาก โครงการ Greener Bangkok Hackathon 2022: แฮคกรุงเทพเพื่อเมืองที่เขียวกว่า เพื่อขับเคลื่อนเมืองของเราให้เขียวกว่าที่เคย
ขอขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการ Greener Bangkok Hackathon 2022: มูลนิธิร็อคกี้เฟลเลอร์ / สถานเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ / กระทรวงพลังงาน / การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย / สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย / สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) / ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) / บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด / บริษัท ภิรัชบุรี จำกัด / ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค / บริษัท ไอคอนสยาม จำกัด / บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)
bottom of page