top of page

โครงการกรุงเทพฯ เมืองเดินได้-เมืองเดินดี (GoodWalk)

9-5_GW Ari.jpg

“เมืองเดินได้-เมืองเดินดี คือการยกระดับการก้าวข้ามกับดักรายได้การท่องเที่ยวปานกลาง”

โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี ระยะที่ 3 เป็นโครงการศึกษาวิจัยต่อเนื่องจากการดำเนินโครงการในระยะที่ 1-2 ในการขับเคลื่อนเมืองเดินได้-เมืองเดินดี ในพื้นที่นำร่องในกรุงเทพมหานคร โดยกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมเพื่อเสนอแนวทางการส่งเสริมและสนับสนุนการเกิดย่านที่มีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นมิตรกับการเดินเท้า ยกระดับคุณภาพชีวิต กระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่น และรักษามรดกวัฒนธรรม รวมถึงสิ่งแวดล้อมทั้งในระดับย่านและระดับเมือง


UddC เชื่อว่า เมืองใดที่ยังเดินไม่ได้ เดินไม่ดี เมืองนั้นย่อม ไม่มีอนาคต และยิ่งตอกย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาและส่งเสริมให้เมืองเป็นมิตรกับการเดินเท้า ซึ่งกรุงเทพฯ เป็นหนึ่งในมหานครขนาดใหญ่ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กำลังเผชิญกับปัญหาพื้นฐานของการพัฒนาเมือง ทั้งในด้านการขยายตัวอย่างรวดเร็วของพื้นที่เมือง ปัญหาการคมนาคมขนส่ง การจราจรติดขัด รวมถึงขีดความสามรถการแข่งขันทางเศรษฐกิจที่ติดกับดักรายได้ปานกลาง

9-3_User Ari.jpg

แนวคิดการพัฒนาเมืองเดินได้-เดินดี จึงถือเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญของการพัฒนากรุงเทพฯ ในการพลิกฟื้นและขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับย่าน ส่งเสริมกิจกรรมการท่องเที่ยว รวมถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมือง ทั้งยังสร้างการตระหนักรู้และส่งเสริมพฤติกรรมของคนเมืองให้เห็นความสำคัญของการเดิน ทั้งในระดับปัจเจกและในระดับสังคม 


อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนเมืองเดินได้-เดินดี ของกรุงเทพฯ ซึ่งมีพื้นที่กว่า 1,500 ตารางกิโลเมตรนี้ คงเป็นไปได้ยากยิ่งหากจะขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นพร้อมกัน ดังนั้นกลยุทธ์การพัฒนาและฟื้นฟูเมืองในรูปแบบของการฝังเข็มเมืองจึงถูกหยิบขึ้นมาเป็นกลวิธีที่ใช้ขับเคลื่อนพื้นที่นำร่องย่านเดินได้-เดินดี ของกรุงเทพฯ อารีย์-ประดิพัทธ์, ทองหล่อ-เอกมัย และกะดีจีน-คลองสาน ล้วนเป็นย่านที่มีศักยภาพการเข้าถึงสาธารณูปการของเมืองที่ดีและมีสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่พร้อมในการขับเคลื่อนสู่ย่านต้นแบบเมืองเดินได้-เมืองเดินดีของกรุงเทพฯ

9-45 KK GW-01.jpg
9-73_User.jpg

นอกจากข้อเสนอแนวทางการออกแบบทางกายภาพแล้ว อีกหนึ่งกลยุทธ์ที่จะทำให้เกิดการปฏิบัติจริง คือการประสานภาคีและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในทุกระดับของพื้นที่ตั้งแต่ชุมชน ภาคประชาสังคม ภาคเอกชน นักลงทุน ภาครัฐ และผู้มีอำนาจในการตัดสินใจและบริหารจัดการพื้นที่ นี่จึงถือเป็นกลวิธีที่สำคัญในการพัฒนาและปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ สภาพแวดล้อมการบริหารจัดการในระดับพื้นที่ของเมือง เพื่อนำไปสู่การเกิดย่านนำร่องเมืองเดินได้-เมืองเดินดี อย่างยั่งยืนต่อไป

9-77_GW TE-01.jpg
9-41 KKUser.jpg

PROJECT FACT

Project Name : โครงการศึกษาศักยภาพการเข้าถึงสาธารณูปการที่ส่งเสริมการเดินเท้า และโครงการศึกษาดัชนีศักยภาพการเดินเท้า ระยะที่ 3
Client : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
Year : 2017
Status : งานศึกษา วิจัย และออกแบบ
Program / Role : การวิจัย และออกแบบพื้นที่ทางเดินเท้า

 

bottom of page