top of page

โครงการเมืองเดินดี (Walkable City)

GW02_COVER.jpg

“เมืองที่เดินไม่ดี เมืองนั้นไม่มีอนาคต จน อ้วน โสด จึงกลายเป็นเรื่องของเมือง”

โครงการเมืองเดินได้-เมืองเดินดี ระยะที่ 2 เป็นโครงการศึกษาวิจัยต่อเนื่องจากการดำเนินโครงการในระยะที่ 1 ซึ่งจากการศึกษาภูมิทัศน์ของความรู้เกี่ยวกับเมืองเดินได้-เมืองเดินดี ชี้ให้เห็นว่า แม้ความสามารถในการให้บริการของเมืองในระยะเดินเท้านั้นจะเป็นปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญในการวิเคราะห์ศักยภาพของเมืองที่มีความเป็นมิตรกับการเดินเท้าในเมือง หากแต่ยังต้องพิจารณาถึงปัจจัยสภาวะแวดล้อมภายนอกของเมืองซึ่งมีผลโดยตรงต่อพฤติกรรมและวัฒนธรรมการเดินเท้าของเมืองอีกด้วย

8-1_10 pilot type aera-01.jpg

UddC พบว่าหลักการพื้นฐานสำคัญ 3 ประการ ที่เป็นเครื่องชี้วัดกายภาพของเมืองที่ส่งเสริมการเดินเท้า คือ สภาพแวดล้อมจะต้องส่งเสริมความปลอดภัย ความสะดวกสบาย และความมีชีวิตชีวาของเมือง ซึ่งถูกพัฒนาออกมาเป็นดัชนีศักยภาพการเดินเท้า (Walkability Index) และใช้ในการศึกษาและประเมินสภาพแวดล้อมของพื้นที่ศึกษาในกรุงเทพมหานครกว่า 34 ย่าน รวมถนนกว่า 1,000 เส้น


ดัชนีศักยภาพการเดินเท้าจึงกลายเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะชี้ให้เห็นโอกาสและอุปสรรคทางกายภาพของเมืองเพื่อบรรลุเป้าเหมายของการออกแบบสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเดินเท้า รวมถึงชี้เป้าการลงทุนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของเมืองให้ตรงกับความต้องการ และมีความเหมาะสมกับบริบทเชิงพื้นที่ที่มีความแตกต่างเพื่อรองรับความหลากหลายของผู้คนในเมือง

F1.jpg
LRM_EXPORT_21662105668344_20190216_17455
LRM_EXPORT_20619717277908_20190216_17261
LRM_EXPORT_20982796652459_20190216_17332
LRM_EXPORT_22010922466233_20190216_17514
LRM_EXPORT_22325871011634_20190216_17570

PROJECT FACT

Project Name : โครงการศึกษาศักยภาพการเข้าถึงสาธารณูปการที่ส่งเสริมการเดินเท้า และโครงการศึกษาดัชนีศักยภาพการเดินเท้า ระยะที่ 2
Client : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
Year : 2016
Status : งานศึกษาและวิจัย 
Program / Role : การวิจัย

 

bottom of page