ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมืองได้จัดทำแบบสอบถามการศึกษารูปแบบและพฤติกรรมการเดินเท้าในชีวิตประจำวันของประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล
วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาและรวบรวมข้อมูลด้านการเดินเท้าใน 3 ประเด็น คือ ประเด็นด้านระยะทางมาตรฐานของการเดินเท้าในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล , ประเด็นด้านความถี่ในการเข้าถึงสาธารณูปการที่ส่งเสริมการเดินเท้าในชีวิตประจำวัน และ ประเด็นด้านสภาพปัญหาและอุปสรรคในการเดินเท้า
กลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่างประชาชนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 1,111 คน โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลผ่านแบบสอบถาม และการเก็บรวบรวมข้อมูลในรูปแบบของแบบสอบถามออนไลน์
ผลสำรวจจากแบบสอบถาม
จากการสำรวจแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่าง 1,111 คน พบว่ามีสภาพปัญหาที่สำคัญอย่างน้อย 3 ด้านที่ส่งผลกระทบต่อการเดินเท้าในพื้นที่กรุงเทพฯคือ (1) ปัญหาด้านความปลอดภัยในการเดิน (2) ปัญหาด้านความสะดวกสบายในการเดินและ (3) ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในการเดินซึ่งเป็นปัญหาที่คนกรุงเทพฯ ต้องพบเจอในชีวิตประจำวัน และผลักดันให้เลือกการสัญจรรูปแบบอื่นๆ แทนการเดิน โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ปัญหาในการเดินในกรุงเทพมหานคร
(1.1) ปัญหาด้านความปลอดภัยในการเดิน
- ปัญหาอันตรายจากอาชญากรรม (ร้อยละ 32.5)
- ปัญหาอันตรายจากอุบัติเหตุบนทางเท้า (ร้อยละ 31.5)
- ปัญหาในการเดินในยามค่ำคืน (ร้อยละ 31.5)
(1.2) ปัญหาด้านความสะดวกสบายในการเดิน
- การไม่มีสถานีโดยสารประจำทางในระยะเดินเท้า (ร้อยละ 26.9)
- การท่ีในพื้นที่ไม่มีทางเดินเท้าหรือทางเดินเท้าไม่ต่อเนื่อง (ร้อยละ 21.6)
- ปัญหาทางเท้าเป็นหลุมเป็นบ่อไม่ราบเรียบ (ร้อยละ 18.4)
(1.3) ปัญหาด้านสภาพแวดล้อมในการเดิน
- การที่ไม่มีร้านค้าที่จำเป็นในชีวิตประจำวันอยู่ระหว่างทาง (ร้อยละ 44)
- ปัญหาสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ไม่สวยงามไม่ดึงดูดการเดินเท้า (ร้อยละ 23.3 )
- ความสกปรกของทางเท้ารวมถึงการมีขยะมูลฝอย (ร้อยละ16.8)
(2) ความสำคัญของการเดินสำหรับคนกรุงเทพมหานคร
นอกจากนี้จากการสำรวจแบบสอบถามพบว่าคนทั่วไปให้ความสำคัญกับการเดินทางในชีวิตประจำวันด้วยการเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ (33.6 %) และยานพาหนะส่วนตัว (31.2%) และการเดินเท้า (24.6%) ในขณะที่การเดินเท้ามีบทบาทความความสำคัญสำหรับผู้ที่ไม่มียานพาหนะส่วนตัวถึง 31.4%
(4) ระยะทางเฉลี่ยของคนกรุงเทพมหานคร
จากการสำรวจพบว่าระยะทางเฉลี่ยที่ไกลที่สุดที่คนกรุงเทพฯพอใจที่จะเดินเท้าไปยังสถานที่ต่างๆคือ 797.6 เมตรหรือ 9.97 นาที ในขณะที่คนญี่ปุ่นเดินได้ 820 เมตร คนอเมริกันเดินได้ 805 เมตร และคนฮ่องกงเดินได้ 600 เมตร